วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

กฤษฏา จ่อเปิดเวที4ภาคถกใช้3สารเคมีก่อนออกกฎคุม

     
      
       เมื่อวันที่ 6 ก.ย.นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าหลังจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติจำกัดการใช้สารเคมีวัตถุอันตราย กำจัดศัตรูพืช 3 สาร พาราควอต คอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต โดยให้กรมวิชาการเกษตร เสนอวิธีจำกัดการใช้ควบคุมการนำเข้า โดยตนได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร ไปทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทั้งเกษตรกรและเอ็นจีโอ ทั้ง4 ภาคของประเทศ ซึ่งการเปิดเวทีต้องทำโดยเปิดเผยและเปิดรับทุกกลุ่มเข้ามาเพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมากที่สุด ไม่ให้เหมือนที่ผ่านมาที่ทำเพียงในเว็ปไซส์เท่านั้น

 รมว.เกษตรฯกล่าวว่าเมื่อได้ข้อสรุปจากทุกเวที และนำมาออกระเบียบข้อจำกัดต่างๆ จะนำมาให้รมว.เกษตรฯออกประกาศระเบียบการใช้สารเคมี 3 ชนิดนี้ ทั้งลดโควต้านำเข้า วิธีใช้การอบรมเกษตรกร ก่อนออกใบอนุญาตให้ซื้อได้  ในปลายเดือนนี้ จะเริ่มเวที ครั้งนี้ไปพบกับทุกฝ่ายและเป็นการเปิดมติใหม่ในการรับฟัง ทั้งนี้จะนำร่างออกระเบียบประกาศกระทรวงว่าด้วยในสาระการใช้เคมีภัณฑ์ ในเบื้องต้นไปเปิดเผยให้ทุกกลุ่มทราบก่อนด้วย

ที่มา : dailynews

ชาวจีนระทึก พบผลึกสีขาวรอบพื้นที่ระเบิดในเทียนจินที่โดนน้ำแล้วไฟลุก!


   จากเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในเทียนจินจนเป็นข่าวไปทั่วโลก ดูเหมือนว่าชาวจีนต้องผวากันอีกครั้งเมื่อยังมีผลึกสีขาวตกอยู่รอบๆ บริเวณที่เกิดระเบิด ที่สำคัญมันเป็นสารเคมีที่เมื่อโดนน้ำแล้วจะเกิดปฏิกิริยาเผาไหม้อีกด้วย
     ประเด็นสารเคมีที่ทำปฏิกิริยาต่อน้ำนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่สื่อหลายสำนักกำลังตั้งข้อสงสัยถึงเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาว่าการระเบิดครั้งต่อๆ มาที่รุนแรงขึ้น เกิดจากนักดับเพลิงฉีดน้ำลงบนโกดังที่บรรจุสารเหล่านี้หรือไม่
      ซึ่งรายงานข่าวจาก BBC ระบุว่าในโกดังที่ระเบิดในเทียนจินนั้นมีสารเคมีไวไฟอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมคาร์ไบด์ที่เมื่อโดนน้ำจะกลายเป็นก๊าซอะเซทิลีนซึ่งเป็นก๊าซที่ระเบิดได้ง่าย แต่จีนก็ยืนยันว่าทีมดับเพลิงเข้าใจสถานการณ์ดีว่ามีสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำด้วย เพียงแต่ไม่มีใครรู้ว่ามันอยู่ที่ไหนในโกดัง และเมื่อทีมดับเพลิงเข้าถึงจุดเกิดเหตุก็เป็นช่วงหลังจากเหตุระเบิดแล้ว
      แต่อย่างไรก็ตาม Shanghaiist ก็รายงานว่าจีนกำลังเซนเซอร์ข้อความในโซเซียลเน็ตเวิร์คที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างหนัก โดยเฉพาะข้อความที่อ้างว่ามาจากสมาชิกของทีมดับเพลิงที่เข้าไปในที่เกิดเหตุ ที่บอกว่าไม่มีใครบอกทีมเลยว่าสารเคมีที่อยู่ในโรงงานนั้นทำปฏิกิริยากับน้ำ ซึ่งก็มีคนรีทวีตไปกว่า 10,000 ครั้งก่อนที่จะโดนรัฐจัดการ นอกจากนี้ในเช้าวันรุ่งขึ้นสถานีโทรทัศน์ของเทียนจินกลับฉายละครเกาหลีแทนที่จะรายงานข่าวที่เกิดขึ้น ราวกับว่าสถานีกำลังรอรัฐบาลอนุมัติเรื่องราวที่จะรายงาน

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ



      ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯสารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก
      เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
ที่มา : sanook

แยกโมเลกุลน้ำสองชนิดออกจากกันสำเร็จครั้งแรกของโลก


     น้ำที่เราใช้ดื่มและชำระล้างสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งน้ำที่มีอยู่ทั้งหมดในจักรวาล ประกอบด้วยโมเลกุล H2O สองชนิดปะปนกันอยู่ ซึ่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากสวิตเซอร์แลนด์สามารถแยกโมเลกุลที่แตกต่างกันนี้ออกมา จนทำให้เกิดเป็นน้ำในสองรูปแบบได้เป็นครั้งแรกของโลก
     มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยดังกล่าวในวารสาร Nature Communications โดยศาสตราจารย์ สเตฟาน วิลลิตช์ และคณะจากมหาวิทยาลัยบาเซิลของสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า ได้ใช้สนามไฟฟ้าสถิตแยกโมเลกุลน้ำทั้งสองแบบออกจากกันได้สำเร็จ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ถือว่าเป็นกระบวนการที่ทำได้ยากมาก
     โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยคู่อะตอมไฮโดรเจนและอะตอมออกซิเจนอีกหนึ่งตัวตามสูตรเคมีเอชทูโอ (H2O) แต่โมเลกุลน้ำต่างชนิดกันจะมีลักษณะการหมุนที่ไม่เหมือนกัน โดยเป็นผลมาจากคุณสมบัติทางเคมีควอนตัมของน้ำ ที่อนุภาคในนิวเคลียสของคู่อะตอมไฮโดรเจนมี "สปิน" (Spin) หรือการเคลื่อนที่เชิงมุมในทิศทางที่แตกต่างกัน
     น้ำที่ประกอบด้วยโมเลกุลซึ่งคู่อะตอมไฮโดรเจนซึ่งมีสปินไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า Ortho-water ส่วนน้ำที่ได้จากโมเลกุลซึ่งอะตอมไฮโดรเจนแต่ละตัวมีสปินไปในทิศทางตรงข้ามกัน เรียกว่า Para-water
     น้ำทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติโดยทั่วไปเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกัน โดยจากการทดลองให้ทำปฏิกิริยากับสาร Diazenylium ซึ่งเป็นไนโตรเจนรูปแบบหนึ่ง พบว่า Para-water มีความไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมีมากกว่าถึง 25%
     อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกโมเลกุลน้ำทั้งสองชนิดออกจากกันได้ในสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการเท่านั้น เนื่องจากโมเลกุลน้ำทั้งสองประเภทจะกลับมารวมตัวกันตามปกติที่อุณหภูมิห้อง
     แม้การค้นพบนี้จะไม่นำไปสู่การผลิตน้ำดื่มน้ำใช้ชนิดใหม่สำหรับมนุษย์ แต่ ศ. วิลลิตช์ ผู้นำคณะวิจัยบอกว่า การแยกโมเลกุลน้ำสองชนิดออกจากกันคือความก้าวหน้าครั้งสำคัญด้านวิทยาการเคมีควอนตัม "ยิ่งเราควบคุมสถานะของโมเลกุลขณะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดีมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งมีความเข้าใจและสามารถตรวจสอบถึงกลไกและพลวัตรซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาเคมีที่ศึกษาได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น"
ที่มา : BBC

ต่างประเทศ สารเคมีรั่วจากโรงงานในจีน ควันสีแดงพวยพุ่งปกคลุมทั่วฟ้า




        สารโบรมีนเกิดรั่วไหลจากโรงงานแห่งหนึ่งในจีน ทำให้เกิดกลุ่มควันสีแดงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าปกคลุมทั่วบริเวณ สาเหตุถังเก็บเอียงทำให้สารละลายไหลออกมา
        วันนี้ (11 พ.ค. 61) China Xinhua News เผยคลิปวิดีโอขณะสารโบรมีน (Bromine) รั่วไหลจากโรงงานแห่งหนึ่ง ในเมืองโซ่วกวง มณฑลซานตง ประเทศจีน ส่งผลให้มีกลุ่มควันสีแดงพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นจำนวนมาก ตามรายงานระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากถังเก็บสารโบรมีนเกิดเอียง ทำให้สารละลายด้านในรั่วไหลออกมา จนเกิดกลุ่มควันปกคลุมเหนือโรงงานลักษณะสีแดงฉานตามปรากฏในคลิป สำหรับสารโบรมีนเป็นสารเคมีซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวสีแดง ระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมี และมีกลิ่นเหม็นตามชื่อเรียกในภาษากรีก (Bromos) โดยสารเคมีชนิดนี้เป็นอันตรายเพราะก่อให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อมนุษย์ เช่น ไอระเหยจะทำให้เกิดอาการแสบตา หลอดลมและเยื่อจมูกอักเสบ หากสัมผัสจะเกิดอาการคัน โบรมีนจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ยอมและฟอกสี พลาสติก เภสัชภัณฑ์ เป็นต้น    
        ก่อนหน้านี้ (11 เม.ย. 61) ได้เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในลักษณะข้างต้นเช่นกันที่เมืองซานเหมินเสีย มณฑลเหอหนาน โดยครั้งนั้นเป็นกรดไนตริก (Nitric acid) หรือกรดดินประสิว ซึ่งมีปริมาณหลายร้อยกิโลกรัม จนทำให้ท้องฟ้าบริเวณนั้นเปลี่ยนเป็นสีส้มอย่างเห็นได้ชัด โดยสารเคมีดังกล่าวออกฤทธิ์เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อมนุษย์เช่นกับโบรมีน แต่กรดไนตริกจะมีฤทธิ์กัดกร่อน หากสัมผัสอาจทำให้เกิดแผลไหม้ได้

ที่มา : workpointnews

แอลเอชซีทดลองเร่งอะตอมตัวแรกเข้าใกล้ความเร็วแสง

        องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือเซิร์น (CERN) แถลงว่าเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่แอลเอชซี (LHC)ได้ทำการทดลองพิเศษก่อนปิดเครื่องซ่อมบำรุงประจำปี โดยได้เร่งให้อนุภาคของตะกั่วทั้งอะตอมเข้าใกล้ความเร็วแสง ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การผลิตรังสีแกมมาพลังงานสูงที่อาจนำไปสู่การค้นพบสสารชนิดใหม่ได้
        ตามปกติแล้วเครื่องชนอนุภาคแอลเอชซีมักทำการทดลองชนโปรตอน ซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานภายในนิวเคลียสของอะตอมเป็นหลัก แต่ในการทดลองพิเศษเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจทดลองเร่งความเร็วของสสารทั้งอะตอมให้เข้าใกล้ความเร็วแสงเป็นครั้งแรก โดยใช้อะตอมของตะกั่วที่มีอิเล็กตรอน 1 ตัวในการทดลองครั้งนี้
นักฟิสิกส์และวิศวกรของเซิร์นระบุว่า การทดลองดังกล่าวถือเป็นขั้นแรกในการทดสอบแนวคิด "โรงงานรังสีแกมมา" (Gamma Factory) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการเร่งสสารทั้งอะตอมจะทำให้แอลเอชซีสามารถผลิตลำแสงรังสีแกมมาพลังงานสูงไว้ใช้ เพื่อค้นหาสสารชนิดใหม่ ๆ เช่นสสารที่มีมวลมาก หรือแม้แต่ผลิตสสารมืด (Dark matter) ขึ้นมาเองได้
        หากแอลเอชซีสามารถเพิ่มศักยภาพในการเป็น "โรงงานรังสีแกมมา" ได้สำเร็จ จะมีการใช้เลเซอร์ยิงอะตอมที่ถูกเร่ง เพื่อให้อิเล็กตรอนกระโดดสู่ระดับพลังงานที่สูงขึ้น เมื่ออิเล็กตรอนดังกล่าวกลับคืนสู่ภาวะปกติ จะมีการคายพลังงานในรูปของโฟตอนหรืออนุภาคของแสงที่มีพลังมหาศาลออกมา ซึ่งก็คือลำแสงรังสีแกมมาที่ต้องการนั่นเอง
        แต่อย่างไรก็ตาม การเร่งอนุภาคทั้งอะตอมนั้นทำได้ยาก เพราะโครงสร้างของอะตอมที่เปราะบางอาจทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกไประหว่างการทดลองและส่วนนิวเคลียสชนเข้ากับผนังท่อเร่งความเร็วได้ จึงต้องมีการทดสอบหาระดับพลังงานในการเร่งอนุภาคทั้งอะตอมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดลำรังสีแกมมาที่มีความเสถียรเป็นเวลานานมากเพียงพอต่อการใช้งาน
        รังสีแกมมาพลังงานสูงสามารถให้กำเนิดอนุภาคชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสสารชนิดปกติทั่วไปเช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน และอนุภาคมิวออน รวมทั้งสสารที่มีมวลมากซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปต่อไปเป็นสสารหายากเช่นสสารมืดได้
ที่มา: bbc

ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192

ด่วน!! สารเคมีรั่วไหล ย่านพหลโยธิน 24 ขณะที่เจ้าหน้าที่ปรมณูเพื่อสันติเร่งตรวจสอบ – สั่งอพยพคน
         เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เพจ FM. 91 Trafficpro ได้รายงานว่าเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในโกดังสินค้าแห่งซ.พหลฯ 24 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ เข้าตรวจสอบแล้ว พร้อมสั่งเร่งอพยพคนออกจากพื้นที่ และประกาศให้ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว ปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
       
  เบื้องต้นคาดว่า เป็น สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารอันตราย ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ถูกรังสีนี้จะให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย มือไหม้พอง และสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนมีอาการตื่นกลัวไม่ยอมรักษาโดยวิธีฉายรังสีจากโคบอลท์-60 หรือสารรังสีหรือแร่โคบอลท์-60 ประกอบด้วย รังสีแกมม่าและรังสีเบต้าและรังสีที่ใช้เป็นตัวรักษาเป็นอันตราย
คือ รังสีแกมมา มีแรงทะลุทลวงมากกว่า รังสีเบต้ามากโคบอลท์-60 เป็นสารรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ในไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2501 โดยปัจจุบันใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมม่า สำหรับรักษาโรคมะเร็ง โดยอาศัยคุณสมบัติของรังสีที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งได้ และปัจจุบันนี้ก็มีผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยจำนวนมากมายที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเกิน 10-30 ปี
ที่มา : mthai

กฤษฏา จ่อเปิดเวที4ภาคถกใช้3สารเคมีก่อนออกกฎคุม

                    เมื่อวันที่ 6 ก.ย.นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าหลังจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติจำกัดการใช้สารเคมี...